วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ผักสวนครัวรั้วกินได้
การปลูกพืชผักสมุนไพร สำหรับใช้ในครัวเรือน นอกจากจะปลูกในสวน ในแปลง ในกระถาง หรือในภาชนะปลูกอื่น ๆ แล้ว พืชผักสมุนไพรหลายชนิดเราสามารถนำมาปลูกเป็นรั้วบ้านได้ ซึ่งนอกจากจะทำหน้าที่เป็นรั้ว คือ เครื่องล้อมกั้นเป็นเขตของบ้านที่มีความสวยงามดูแปลกตา แตกต่างไปจากรั้วบ้านชนิดอื่น ๆ แล้ว รั้วสมุนไพรยังให้ใบ ให้หน่อ ให้ผล ให้ดอก ให้เรานำไปเป็นอาหารและยารักษาโรคได้อีกด้วย
โดยทั่วไปพืชผักสมุนไพรที่ใช้ปลูกเป็นรั้วกินได้ มักใช้พืชผักสมุนไพรที่ปลูกง่าย ไม่ต้องการการดูแลรักษามากนัก ทนต่อโรคและแมลงได้ดี เพียงแค่ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เป็นครั้งคราวก็สามารถเจริญเติบโต และตัดแต่งเป็นรั้วบ้านได้ตามที่เราต้องการ
1. รั้วที่ปลูกโดยพืชสมุนไพรยืนต้น ใช้พืชยืนต้นที่ให้หน่อ ใบ ดอก และผลเป็นอาหารและยารักษาโรค โดยนำมาปลูกเป็นแนวรั้วตามที่เราต้องการ พืชเหล่านี้มีลักษณะลำต้นตั้งตรง หรือ ทรงพุ่ม ยืนต้นอยู่ได้ด้วยตัวเอง สามารถตัดแต่งให้เป็นรั้วมีขนาดกว้างและสูงได้ตามต้อง
การ ได้แก่
รั้วที่ปลูกโดยพืชสมุนไพรยืนต้น ใช้พืชยืนต้นที่ให้หน่อ ใบ ดอก และผลเป็นอาหารและยารักษาโรค โดยนำมาปลูกเป็นแนวรั้วตามที่เราต้องการ พืชเหล่านี้มีลักษณะลำต้นตั้งตรง หรือ ทรงพุ่ม ยืนต้นอยู่ได้ด้วยตัวเอง สามารถตัดแต่งให้เป็นรั้วมีขนาดกว้างและสูงได้ตามต้องการ ได้แก่
กระเจี๊ยบแดง ใบอ่อนใช้แกงส้มรสเปรี้ยวกำลังดี กลีบเลี้ยงใช้ทำแยม เชื่อมตากแห้งหรือต้มกับน้ำ เติมน้ำตาลทำเป็นน้ำกระเจี๊ยบก็ได้
สรรพคุณทางยาและวิธีใช้
- ขับปัสสาวะ- แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ป้องกันการจับตัวของไขมันในเส้นเลือด
- แก้ไอ ขับเสมหะ
ข้อระวัง
จากการทดลองมีรายงานแสดงผลว่าการดื่มน้ำกระเจี๊ยบมีการขับกรดยูริคออกมาในปัสสาวะลดลง จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเก๊าส์ซึ่งมีปริมาณกรดยูริคในเลือดสูง และต้องขับออกมาให้มากที่สุดเพื่อไม่ให้ตกตะกอนในร่างกาย

วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2551

พืชผักสวนครัว
การปลูกพืชผักสวนครัว มีความสำคัญเป็นอันดับแรกของชีวิตประจำวัน เพราะใช้เป็นอาหารในครัวเรือนได้ดี ถ้าปลูกมากมีเหลือก็จำหน่ายได้ และสามารถยึดเป็นอาชีพได้ ขอให้มีความยึดมั่นในธรรมชาติ มีความขยัน และอดทน การปลูกพืชผักสวนครัวมีหลักปฏิบัติ 5 ประการ
การเลือกเมล็ดพันธุ์เมล็ดพันธุ์มีความจำเป็นในการเริ่มต้นในการเพาะปลูก จึงควรศึกษาเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ดี แข็งแรง ไม่เป็นโรคง่าย คัดสรรแล้วเก็บรักษาไว้อย่างดีก่อนปลูก
การเตรียมดินคุณภาพของดิน จะเป็นตัวกำหนดการเจริญเติบโตของพืช การให้อาหารแก่ดินด้วยปุ๋ยชีวภาพจะทำให้ดินมีชีวิตและช่วยย่อยอินทรีย์วัตถุในดิน ให้ดินอุดมพร้อมแก่การเพาะปลูก

2.1 แปลงใหม่ (ดินไม่สมบูรณ์)
-ถ้าดินแข็งมาก อาจใช้เครื่องจักรช่วยในการไถก่อน ยกแปลง
-ดินขาดอินทรีย์วัตถุ ควรแหวะท้องหมู ใส่ปุ๋ยแห้ง และรดด้วยปุ๋ยน้ำ
-ยกร่องให้สวยงาม โรยปุ๋ยแห้ง ตร.ม. ละ 1 กำมือ รดด้วยปุ๋ยน้ำ คลุมด้วยฟางไว้ 5-7 วัน ปลูกพืชด้วยเมล็ดหรือกล้า

2.2 แปลงเก่า (ดินสมบูรณ์)

หลังจากตัดผักหรือถอนผักออกแล้ว ถอนหญ้า ปรับปรุงแปลง (ไม่ต้องขุด) แล้วเริ่มต้นดังนี้

-ใส่ปุ๋ยแห้ง ตร.ม.ละ 1-2 กำมือ ใช้จอบสับเบาๆ ให้คลุกกับดิน

-คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง

-รดด้วยปุ๋ยน้ำ 1-2 วัน

-หมักไว้ 7 วัน ปลูกด้วยเมล็ดหรือกล้า
การปลูก
3.1 การปลูกด้วยเมล็ด

-นำเมล็ดไปแช่ในน้ำจุลินทรีย์ ประมาณ 30 นาที หากผิวเมล็ดแข็งให้แช่นานหน่อย

-แหวกหญ้าหรือฟางที่คลุมออก

-ใช้ไม้กระดานหน้า 1/2 x 2 นิ้ว กดเป็นรอยลึก 1-2 เซนติเมตร

-หยอดเมล็ดตามรอยที่กดไว้

-คลุมฟางเหมือนเดิม

-รดน้ำเช้าเย็น

-2 วันแรกให้รดด้วยปุ๋ยน้ำช่วงเย็นวันละ 1 ครั้ง หลัง จากนั้น ให้รดปุ๋ยน้ำ 3 วัน / ครั้ง นอกนั้นรดน้ำปกติ



3.2ปลูกด้วยกล้า

การเพาะกล้ามี 2 ชนิด คือ


เพาะด้วยกะบะ

-อาจเป็นภาชนะสำเร็จรูป หรือใช้ไม้ 1/2 x 2 นิ้ว หรือวัสดุอื่น ทำเป็นกระบะขนาด 50 x 50 หรือ 50 x 70 หรือ 50 x 100 เซนติเมตร ให้สามารถยกย้ายและวางบนพื้นได้สะดวก

-ผสมปุ๋ยแห้งกับดินร่วน แกลบเผา อัตราส่วน 1 : 5 : 3 ลงในกระบะ

-หยอดเมล็ดหรือหว่านเมล็ดให้ทั่วอย่าให้แน่นเกินไป

-คลุมด้วยหญ้าแห้งหรือฟางบางๆ

-รดด้วยปุ๋ยน้ำให้ชุ่ม

-จากนั้นรดน้ำ เช้า-เย็น

-รดปุ๋ยน้ำช่วงเย็นติดต่อกัน 3 วัน หลังจากนั้นรดปุ๋ยน้ำ 3 วัน/ครั้ง





การเพาะในแปลง

-นำปุ๋ยแห้งและแกลบเผาผสมในดิน ในแปลง คลุกให้ทั่ว ทำหน้าดินให้ละเอียด

-หยอดเมล็ด หรือ โรยเมล็ด

-คลุมด้วยหญ้าแห้งหรือฟางแห้งบางๆ

-รดปุ๋ยน้ำให้ชุ่มทั่วแปลง

-รดน้ำ เช้า - เย็น

-3 วันแรกรดปุ๋ยน้ำช่วงเย็นทุกวัน หลังจากนั้นรด 3 วัน/ครั้ง วันปกติรดน้ำธรรมดา
การดูแลรักษา
-ผักเกือบทุกชนิดเพาะกล้าก่อนปลูกจะดี เพราะถ้าให้ร่นระยะเวลาในการลงปลูก สามารถปลูกได้หลายรุ่น และดูแลรักษาง่ายยกเว้นพืชผักที่ย้ายกล้าไม่ได้ เช่น แครอท หัวผักกาด การปลูกด้วยกล้า ทำให้ประหยัดเมล็ดพันธุ์ได้ด้วย ดีกว่าปลูกด้วยเมล็ดแล้วต้องถอนทิ้งเมื่อผักแน่นเกินไป
-ปกติจะใส่ปุ๋ยแห้งครั้งเดียว แต่ถ้าผักมีอายุยาวเกิน 50 วัน ให้สังเกตว่าผักไม่สวย ไม่สมบูรณ์ ก็ใส่ปุ๋ยแห้งได้ระหว่างแถว ไม่ให้ถูกต้นพืชผัก
-การเตรียมแปลงดี ผักจะเจริญเติบโตเสมอกันทั้งแปลงผักต้นใดมีโรคให้งดน้ำ และรดด้วย EM สด ขยาย ผสมน้ำ 50 เท่า ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง จึงให้น้ำต่อ
-ผักมีหัวให้ขุดแปลงลึกๆ แหวะท้องหมูบ่อยๆ และใส่ปุ๋ยแห้งผสมให้ดี
-การรดน้ำ ควรใช้บัวรดน้ำรูเล็กๆ ให้เป็นฝอยได้มากเท่าไรยิ่งดี
-ไม่ควรรดน้ำด้วยสายยางที่น้ำพุ่งแรงๆ จะทำให้ผักนอนราบ โดยเฉพาะผักกาดขาวจะห่อใบยาวขึ้นหากถูกน้ำซัดแรงๆ ทุกวัน
-พ่นด้วยสารไล่ศัตรูพืช หรือ สารป้องกันเชื้อรา ทุกๆ 3 วัน


ข้อสังเกตุ เพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืชโดยธรรมชาติ ควรปลูกผักกาดหอม ผักชีใบแหลม ปนกับผักอื่นๆ ปลูกต้นดาวเรือง ตะไคร้หอม ผกากรองไว้เป็นรั้ว และใช้ใบตะไคร้หอมมาคลุมแปลงผักจะป้องกันแมลงรบกวนได้ด้วย
การเก็บผลผลิต - การจำหน่าย
การเก็บผลผลิตควรดำเนินไปตามอายุของผักแต่ละประเภท และหาก ปลูกโดยใช้จุลินทรีย์ชีวภาพดังกล่าวข้างต้น ควรเก็บก่อนกำหนด เล็กน้อยเพราะ

-ผักธรรมชาติเจริญเติบโตเร็ว
-ร่นระยะเวลาปลูก ลดแรงงาน และรายจ่าย
-หากเก็บช้าหรือเกินอายุทำให้ผักมีภูมิต้านทานต่ำเกิดโรคได้
-การเก็บควรใช้วิธีตัด ยกเว้นผักหัวใช้ถอน
-ผักที่เป็นผลควรเก็บอย่างปราณีต เพื่อให้โอกาสเกิดผลใหม่อีก เช่น ถั่ว แตง
-ผักทั่วไปเก็บแล้วล้างให้สะอาด บรรจุถุงเพื่อจำหน่าย-
ผักที่เป็นฝัก เช่น ถั่ว เก็บแล้วไม่ต้องล้าง ไม่ต้องพรมน้ำ

ข้อควรจำ

ผักธรรมชาติทนทาน ขั้วไม่หลุดง่าย เหี่ยวยาก ไม่ต้องแช่สารเคมี น้ำพรมผักหรือแช่ผักควรผสม EM ด้วย
ไม่ควรนำผลผลิตไปขายร่วมกับแผงผักเคมี จะทำให้เสียคุณภาพ ควรเปิดแผงผักปลอดสารพิษหรือผักธรรมชาติ เพื่อสะดวกต่อการเลือกซื้อของผู้บริโภค สามารถรับรองคุณภาพและสามารถกำหนดราคาได้ดีในอนาคต
ช่วงที่เหมาะสมในการปลูกพืชผัก
กุมภาพันธ์- เมษายน
- ผักชี หอม ผักบุ้งจีน ผักกาดหัว ถั่วฝักยาว แตงกวา มะระ ผักกาดเขียวปลี ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาว
พฤษภาคม - กรกฎาคม
- ผักคะน้า กุยช่าย บวบเหลี่ยม ข้าวโพดหวาน หอมแดง
สิงหาคม - ตุลาคม(ปลายฝน)
- ผักชีลาว ผักโขม กุยช่าย ผักกาดขาว ผักกาดหอม พริก มะเขือเปราะ มะเขือยาว
ปลูกได้ทั้งปี
- ผักสวนครัวต่างๆ เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ โหระพา แมงลัก ฯลฯ

วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2551